วันเสาร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม Had Chao Mai National Park.



อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม Had Chao Mai National Park.
            อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม. เป็นอุทยานแห่งชาติที่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดตรังอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีพื้นที่ครอบคลุม. อยุ่ในท้องที่อำเภอสิเกา. และอำเภอกันตัง. จังหวัดตรัง. อยู่ทางทะเลอันดามัน. ประกอบด้วยป่าชายเลน. หญ้าทะเล. เกาะแก่ง. มีหาดทรายขาวนวลเรียงยาวไปตามผืนแผ่นดินกว่า 20 กิโลเมตร. และสนทะเลตามธรรมชาติอันสวยงาม. อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 144,292.35 ไร่. หรือ 230.87 ตารางกิโลเมตร.
        วนอุทยานแหลมหยงลำ. ได้มีหนังสือส่งรายงานการสำรวจเบื้องต้นวนอุทยานแหลมหยงลำ. เพื่อจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ. กองอุทยานแห่งชาติจึงได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ. พิจารณากำหนดที่ดินบริเวณแหลมหยงลำ. เป็นอุทยานแห่งชาติ. ซึ่งคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติได้มีมติเห็นสมควรให้กำหนดพื้นที่แหลมหยงลำ. หาดยาว. หาดสั้น. หาดเจ้าไหม. และหาดปากเมง. เป็นอุทยานแห่งชาติ. โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่าคลองไหโละ. ป่าคลองปอ. และป่าคลองกันตัง. ในท้องที่ตำบลไม้ฝาด. อำเภอสิเกา. ตำบลบ่อน้ำร้อน. ตำบลบางสัก. ตำบลเกาะลิบง. อำเภอกันตัง. จังหวัดตรัง. พื้นที่ 144,300 ไร่. หรือ 230.88 ตารางกิโลเมตร. เป็นอุทยานแห่งชาติ. โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 98 ตอนที่ 170 ลงวันที่ 14 ตุลาคม 2524 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 36 ของประเทศไทย.
          ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกา. เพิกถอนพื้นที่บางส่วนในเขตอุทยานแห่งชาติป่าคลองไหโละ. ป่าคลองปอ. และป่าคลองกันตัง. ในท้องที่ตำบลเกาะลิบง. อำเภอกันตัง. จังหวัดตรัง. เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2532 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 106 ตอนที่152 ลงวันที่ 13 กันยายน 2532 จำนวน 0.012 ตารางกิโลเมตร. เพื่อทำการก่อสร้างโรงเรียนบ้านหาดยาว. ของสำนักงานประถมศึกษาอำเภอกันตัง. จังหวัดตรัง. ทำให้พื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมในปัจจุบันคงเหลือเพียง 230.868 ตารางกิโลเมตร.
ลักษณะภูมิประเทศ.
              อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม. ตั้งอยู่ในท้องที่อำเภอสิเกา. และอำเภอกันตัง. จังหวัดตรัง. อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7 องศา 17 ลิบดา - 7 องศา 32 ลิบดา เหนือ. และเส้นแวงที่ 99 องศา 13 ลิบดา - 99 องศา 29 ลิปดา. มีอาณาเขตทิศเหนือจดเขาจองจันทร์. อำเภอกันตัง. คลองเมงและคลองลำยาวตำบลไม้ฝาด. อำเภอสิเกา. จังหวัดตรัง. ทิศใต้จดทะเลอันดามัน. เกาะลิบง. และปากน้ำกันตัง. ทิศตะวันออกจดควนดินแดง. ควนเม็ดจุน. ควนลุ. และควนแดง. ทิศตะวันตกจดทะเลอันดามัน. เกาะไหง เกาะม้าของอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา.
               อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหมสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 2 ส่วน. ได้แก่พื้นที่ดินชายฝั่งทะเล. รวมทั้งเกาะมุก, เกาะกระดาน, เกาะแหวน, เกาะเชือก. เกาะเมง เกาะปลิง, และเกาะเจ้าไหม, บริเวณชายฝั่งนี้ประกอบด้วยเขาหินปูนสูงชัน. ทางตอนเหนือด้านตะวันออกมีเทือกเขาจองจันทร์. เทือกเขาควนเม็ดจูน. เทือกเขาควนแดง. ฯลฯ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธารหลายสายที่มารวมกันเป็นคลองบางสัก.  ไหลลงสู่แม่น้ำตรัง. พื้นน้ำครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 137.22 ตารางกิโลเมตร. เป็นห้วงน้ำลึก. มีความลึกเฉลี่ย 20 เมตร.
ลักษณะภูมิอากาศ.
             สภาพภูมิอากาศของอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม. จัดอยู่ในลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับชุ่มชื้น. ได้รับอิทธิพลจากลมมรุสุมตะวันตกเฉียงใต้. และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือทั้งสองด้าน. จึงทำให้ฝนตกชุกตลอดปี ทำให้เกิดฤดู 2 ฤดู. คือ ฤดูร้อนและฤดูฝน. เด่นชัดกว่าฤดูหนาว. โดยฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม - เมษายน ส่วนฤดูฝนเริ่มต้นตั้งแต่เดือนพฤษภาคม - ธันวาคม อากาศร้อนชื้นถึงชุ่มชื้น. อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 27 องศาเซลเซียส. ปริมาณน้ำฝนมากว่า 2,100 มิลลิเมตรต่อปี.


การเดินทาง
              ที่ทำการอุทยานฯ ตั้งอยู่ที่หาดฉางหลาง ห่างจากตัวเมือง 27 กม. ตามเส้นทางสาย 4046 ระยะทาง 40 กม. และ เลี้ยวซ้ายตาม ถนนเลียบชายหาด อีก 7 กม. ก็จะถึงที่ทำการ สถานที่ท่องเที่ยวในเขตอุทยานฯ สถานที่ท่องเที่ยวอุทยานฯ ที่อยุ่บนบก ได้แก่ หาดปากเมง หาดฉางหลาง หาดสั้น หาดยาว หาดหยงหลิง หาดเจ้าไหม ถ้ำเจ้าไหม สถานที่ท่องเที่ยวเหล่านี้รถยนต์สามารถเข้าถึงได้สะดวก ยกเว้นถ้ำเจ้าไหม ที่ต้องนั่งเรือไปตามคลองเจ้าไหมอีก 15 นาที เป็นถ้ำหินงอกหินย้อยอยู่ที่เขาโต๊ะแนะใกล้บ้านเจ้าไหม และเกาะเจ้าไหมบริเวณที่ทำการมีศูนย์บริการนักท่องเที่ยว มีห้องน้ำไว้บริการ และจัดเตรียมสถานที่กางเต็นท์ไว้สำหรับผู้ต้องการพักแรม รายละเอียดเพิ่มเติม อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม หมู่ 5 ตำบลไม้ฝาด อำเภอสิเภา จังหวัดตรัง ตู้ปณ. 9  โทร. (075) 210099
ปัจจุบันมีที่พักบนหาดฉางหลาง คือ ฉางหลางรีสอร์ท โทร. (075) 291009, (01) 228-3679 มีห้องพัดลมและปรับอากาศจำนวน 22 ห้อง                 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น